รู้จัก WMS ระบบจัดการสินค้า ตัวช่วยบริหารคลังสินค้า ที่ทุกธุรกิจต้องมี!

รู้จัก WMS ระบบจัดการสินค้า ตัวช่วยบริหารคลังสินค้า ที่ทุกธุรกิจต้องมี!

Table of Contents

Key Takeaway

  • ระบบ WMS คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการคลังสินค้าในทุกด้าน ตั้งแต่การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้า ทั้งข้อมูลสินค้า จำนวนสินค้า รวมถึงการกระจายและส่งออกสินค้า แบ่งเป็น 4 ประเภท คือกำหนดเอง สำเร็จรูป เชื่อมต่อกับ ERP และไม่เชื่อมต่อกับ ERP
  • หลักการทำงานของ WMS คือระบบรับสินค้า จัดเก็บสินค้า และส่งออกสินค้า 
  • ระบบสำคัญที่ต้องมีใน WMS คือระบบสินค้าเข้า จัดการเอกสาร บริหารสินค้า จัดการสินค้า โอนย้ายสินค้า ตั้งหน่วยนับสินค้า และรายงานสรุป
  • ประโยชน์ของระบบ WMS เช่น ลดข้อผิดพลาดจากการจัดเก็บและหยิบสินค้า ส่งสินค้าได้รวดเร็วและแม่นยำ และทราบสถานะของสินค้าในคลังได้แบบเรียลไทม์ เป็นต้น
  • เหมาะกับธุรกิจประเภท B2B, B2C และ SME
  • YAS มีบริการโปรแกรม WMS ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อจัดการสินค้าอย่างเป็นระบบและตรวจสอบภาพรวมแบบเรียลไทม์ตลอดเวลา

เมื่อธุรกิจเริ่มเติบโต การบริหารสินค้าจำเป็นต้องมีการจัดการที่เป็นระบบมากขึ้น การอัปเดตข้อมูลคลังสินค้าอย่างสม่ำเสมอจึงอาจกลายเป็นความท้าทาย ขอแนะนำโปรแกรมจัดการระบบคลังสินค้า WMS (Warehouse Management System) ว่าคืออะไร พร้อมข้อดีที่ทุกธุรกิจไม่ควรมองข้าม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของธุรกิจอย่างแน่นอน

ทำความรู้จัก ระบบจัดการสินค้า WMS คืออะไร

ระบบ WMS (Warehouse Management System) คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการคลังสินค้าในทุกด้าน ตั้งแต่การติดตามข้อมูลสินค้า จำนวนสินค้า การรับและเก็บสินค้า รวมถึงการกระจายและการส่งออกสินค้า ระบบนี้ช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้โปรแกรม WMS ยังช่วยประหยัดต้นทุนแรงงานของพนักงานคลังสินค้าได้อย่างมาก 

ประเภทของระบบ WMS

ประเภทของระบบ WMS

ระบบ WMS System คือโปรแกรมที่ช่วยในการจัดการคลังสินค้าในทุกขั้นตอน เป็นโปรแกรมที่ช่วยอัปเดตข้อมูลคลังสินค้าให้เป็นปัจจุบันมากที่สุด โปรแกรมจัดการระบบคลังสินค้า WMS มีหลายประเภทและวิธีการใช้งานที่ต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้ระบบ WMS แต่ละประเภทขึ้นอยู่กับขนาด ลักษณะ และความต้องการขององค์กร โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

แบบกำหนดเอง

ระบบ WMS แบบกำหนดเองคือการสร้างโปรแกรมระบบจัดการคลังสินค้าตามความต้องการเฉพาะขององค์กร โดยออกแบบระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด สามารถเข้าใจการใช้งานได้ง่ายและเชื่อมต่อกับโปรแกรมอื่นๆ รวมถึงใช้งานได้หลายอุปกรณ์และตั้งค่าสิทธิ์การเข้าถึงได้ตามต้องการ อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือการสร้างระบบ WMS แบบกำหนดเองมีต้นทุนสูง เหมาะสำหรับองค์กรหรือธุรกิจใหญ่ที่มีความต้องการเฉพาะเจาะจงในการจัดการคลังสินค้า และมีความต้องการในการแก้ไขปัญหาอย่างชัดเจน

แบบสำเร็จรูป

ระบบ WMS แบบสำเร็จรูปคือประเภทโปรแกรมที่มีการตั้งค่าและออกแบบระบบมาแล้วล่วงหน้า ซึ่งอาจมีข้อจำกัดตามเงื่อนไขของผู้พัฒนา ทำให้องค์กรต้องเลือกระบบที่ตรงกับความต้องการและปัญหาของธุรกิจจากหลายผู้พัฒนา การเพิ่มเติมหรือดัดแปลงการใช้งานอาจทำได้น้อยหรือไม่สามารถทำได้เลย ข้อดีคือมีราคาถูก และสามารถหาระบบที่ตรงกับความต้องการได้หลากหลาย ติดตั้งและใช้งานได้ทันที มีขั้นตอนการใช้งานที่ง่าย เหมาะเป็นพื้นฐานสำหรับการติดตั้งและเริ่มต้นระบบ

แบบเชื่อมต่อกับ ERP

WMS System แบบเชื่อมต่อ ERP (ระบบเกี่ยวกับการวางแผนจัดการข้อมูลด้านต่างๆ ขององค์กร) ระบบนี้คือโปรแกรมที่จัดการคลังสินค้าและข้อมูลอื่นๆ ในองค์กรให้เป็นระเบียบ ค้นหาง่าย และจัดการได้อย่างแม่นยำ ระบบนี้เหมาะสำหรับองค์กรหรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีสินค้าและข้อมูลจำนวนมาก เพราะ Warehouse Management System เชื่อมต่อกับระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)  ทำให้การจัดการข้อมูลและคลังสินค้ารวมถึงฐานข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ไม่แนะนำสำหรับธุรกิจหรือองค์กรขนาดเล็กที่ยังสามารถจัดการข้อมูลได้ด้วยตัวเอง

แบบไม่เชื่อมต่อกับ ERP

โปรแกรมระบบ WMS สำหรับธุรกิจขนาดเล็กมักเลือกใช้ระบบที่ไม่เชื่อมต่อกับ ERP เนื่องจาก ERP เป็นระบบที่เชื่อมโยงทุกหน่วยงานและจัดการข้อมูลร่วมกัน ขณะที่ระบบ WMS ที่ไม่เชื่อมต่อกับ ERP มักใช้การจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์และมีฐานข้อมูลสำรองของตัวเอง ซึ่งเหมาะกับธุรกิจทุกรูปแบบและมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน

หลักการทำงานสำคัญของระบบ WMS

หลักการทำงานสำคัญของระบบ WMS

ระบบการจัดการคลังสินค้า WMS (Warehouse Management System) คือเครื่องมือที่ช่วยจัดการทุกด้านของคลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดข้อผิดพลาดในข้อมูลสินค้า จำนวนสต็อก หยิบสินค้าและจัดส่งได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถใช้ได้กับธุรกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อให้การดูแลข้อมูลมีประสิทธิภาพ หลักการทำงานของ WMS ประกอบด้วย 3 ระบบหลัก คือ

1. ระบบรับสินค้า (Receiving)

ระบบการรับสินค้า (Receiving) เป็นกระบวนการแรกในคลังสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการรับสินค้ามาจัดเก็บ โดยต้องมีการบันทึกและจัดเรียงข้อมูลของสินค้าที่เข้ามาใหม่ รวมถึงอัปเดตจำนวนสินค้าตามที่รับเพิ่มเติมเข้ามา การบันทึกข้อมูลจะใช้การสแกนบาร์โค้ดเพื่อให้ระบบ WMS สามารถแยกหมวดหมู่สินค้าและอัปเดตจำนวนรายการได้อย่างถูกต้อง และบันทึกรายละเอียดของสินค้าแต่ละชิ้นไปยังฐานข้อมูลคลังสินค้าทันที โดยไม่ต้องใช้พนักงานจดบันทึก ลดความผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนแรก การบันทึกข้อมูลสามารถทำได้ทั้งแบบ Manual โดยพนักงานกรอกข้อมูลเอง หรือใช้ร่วมกันกับเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลเพื่อการอัปเดตแบบเรียลไทม์

2. ระบบการจัดเก็บสินค้า (Storage)

ระบบการจัดเก็บสินค้า (Inventory Management) หรือการจัดการสต็อกสินค้าในคลัง ใช้โปรแกรม WMS เพื่อจัดเรียงตำแหน่งของสินค้าแต่ละชิ้นและแต่ละหมวดหมู่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ การจัดเก็บอย่างมีระเบียบช่วยให้ค้นหาสินค้าได้ง่ายและใช้พื้นที่คลังสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโปรแกรม WMS จะคำนวณรายละเอียดของสินค้าทุกชิ้นและทุกประเภท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสต็อกและการใช้พื้นที่

3. ระบบการส่งออกสินค้า (Delivery)

ระบบ WMS ในการส่งออกสินค้า (Delivery) ช่วยจัดการทุกขั้นตอนของการจัดส่ง ตั้งแต่การเบิกสินค้าจากคลัง รายละเอียดการจัดส่ง ตำแหน่งของสินค้า การติดตามตั้งแต่ในคลังจนถึงจัดส่ง และการอัปเดตสถานะของสินค้าภายในคลัง ระบบ WMS จะช่วยให้เราทราบตำแหน่งและสถานะของสินค้าในคลัง ทำให้เราหยิบสินค้าและจัดส่งได้อย่างถูกต้อง

ระบบสำคัญ ต่อการจัดการสินค้าแบบ WMS

ระบบจัดการคลังสินค้า WMS System คือเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการและแก้ปัญหาทุกด้านเกี่ยวกับคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงจุดตามความต้องการขององค์กรธุรกิจและมีความแม่นยำสูง ระบบสำคัญของ WMS ประกอบไปด้วยระบบต่างๆ ดังนี้

  • ระบบสินค้าเข้า (Stock Entry) ใช้บันทึกข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของสินค้าในคลัง เช่น การรับสินค้าใหม่ การเติมสต็อกของสินค้าเดิม หรือการหยิบสินค้าจากคลัง ข้อมูลที่บันทึกจะรวมถึงวัน เวลา จำนวนสินค้า สถานที่หรือพิกัดของสินค้าที่เข้าและออกจากคลัง และรายละเอียดอื่นๆ

  • ระบบจัดการเอกสาร (Documenting) ช่วยจัดการเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานคลัง เช่น การออกใบเสร็จในการสั่งซื้อ เอกสารใบส่งของ ใบเสนอราคา เอกสารใบเบิกพัสดุ และบันทึกข้อมูลภายในคลังจากพนักงาน รวมถึงเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคลังสินค้า

  • ระบบบริหารสินค้า (Inventory Management) ช่วยลดขั้นตอนการทำงานเกี่ยวกับระบบคลังสินค้า ลดภาระงานของพนักงาน และจัดการขั้นตอนดำเนินการงานคลังสินค้าให้เป็นระบบ มีความแม่นยำ รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

  • ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System) ใช้ WMS เพื่อช่วยจัดการการขนส่งสินค้าอย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ระบบนี้ช่วยจัดการข้อมูลรายละเอียดของสินค้าและคลังสินค้า ทำให้การบันทึกคำสั่งซื้อเป็นระบบมากขึ้น และแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดเรื่องการหยิบสินค้าผิด ทำให้ส่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ระบบโอนย้ายสินค้า (Inventory Transfers) ช่วยจัดการย้ายสินค้าจากคลังหนึ่งไปอีกคลัง หรือการจัดเรียงคลังสินค้าต่างๆ ด้วยความสะดวก จะบันทึกข้อมูลทุกขั้นตอนของการโอนย้ายและป้องกันข้อผิดพลาดในรายการสินค้าระหว่างโอนย้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ระบบตั้งหน่วยนับสินค้า (Unit of measurement) ในโปรแกรม WMS ช่วยกำหนดวิธีนับจำนวนสินค้าในคลัง เช่น นับสินค้าทุกครั้งที่มีการนำเข้า – ออก หรืออัปเดตจำนวนสินค้าในคลังแต่ละหมวดหมู่ เป็นต้น

  • รายงานสรุปภาพรวมสินค้า (Report) ในระบบ WMS ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับคลังสินค้าได้ตลอดเวลา อัปเดตข้อมูลสินค้าในคลังได้แบบเรียลไทม์ เช่น จำนวนสินค้าล่าสุด รายละเอียดการโอนย้ายสินค้าเข้า-ออกคลัง พิกัดหมวดหมู่สินค้า และอื่นๆ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถตั้งค่าและเรียกดูรายงานตามจุดประสงค์ได้ตามต้องการ 

ระบบ WMS มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของโปรแกรมระบบ WMS หรือ Warehouse Management System คือการช่วยเหลือธุรกิจและองค์กรในการจัดการคลังสินค้าทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบและรวดเร็ว มีบันทึกข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในคลังสินค้า โดยมีประโยชน์ที่เห็นได้ชัดที่สุด เช่น

  • สามารถดูจำนวนสินค้าในคลังได้แบบเรียลไทม์ อัปเดตตลอดเวลา
  • สามารถดูข้อมูลการเคลื่อนไหวภายในคลังสินค้าได้ เช่น มีสินค้าเข้า–ออกคลัง หรือมีการโอนย้ายสินค้าออกไปยังคลังอื่น เป็นต้น
  • ช่วยให้การกระจายสินค้า การส่งออก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
  • ช่วยในการคำนวณพื้นที่ใช้สอยภายในคลังสินค้าได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
  • ช่วยในการค้นหาสินค้าภายในคลังได้อย่างรวดเร็ว โดยสามารถระบุพิกัดของสินค้าที่ต้องการได้ทันที

นอกจากนี้ ระบบ WMS ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่ช่วยในการจัดการคลังสินค้าและบริหารคลังสินค้าอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบโปรแกรมที่องค์กรเลือกเพื่อใช้แก้ไขปัญหาต่างๆ ของธุรกิจ 

ระบบ WMS เหมาะกับธุรกิจประเภทไหน

ระบบ WMS เหมาะกับธุรกิจประเภทไหน

ทุกธุรกิจที่ต้องจัดการคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นคลังขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก เจ้าของธุรกิจสามารถใช้โปรแกรมระบบ WMS เพื่อช่วยแก้ปัญหาและข้อผิดพลาดเกี่ยวกับรายละเอียด จำนวน การติดตามสินค้า และการอัปเดตข้อมูลภายในคลังแบบเรียลไทม์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประเภทธุรกิจทั้งหมดที่ใช้ WMS อย่างคุ้มค่าในทุกการแก้ไขปัญหา มีดังนี้

  • ประเภทธุรกิจแบบ B2B (Business to Business) เป็นประเภทธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องรับและกระจายสินค้าระหว่างเจ้าของธุรกิจกับเจ้าของธุรกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน สำหรับธุรกิจแบบนี้มักเจอปัญหาเรื่องจำนวนสินค้าและรายละเอียดสินค้าภายในคลังที่เกิดข้อผิดพลาดบ่อยครั้ง
  • ประเภทธุรกิจแบบ B2C (Business to Customer) เป็นประเภทธุรกิจที่ขายสินค้าจากเจ้าของแบรนด์ธุรกิจไปยังผู้บริโภคโดยตรง ในส่วนนี้ระบบคลังสินค้ามักมีปัญหาเรื่องการจัดส่งเป็นจำนวนมาก
  • ประเภทธุรกิจแบบ SME (Small and Medium Enterprises) เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แม้จะเป็นธุรกิจเริ่มต้นขายสินค้าก็สามารถประสบปัญหาเกี่ยวกับคลังสินค้าและกระบวนการทุกขั้นตอนได้ทั้งหมด

ดังนั้น โปรแกรมระบบ WMS จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจัดการคลังสินค้าทุกขั้นตอน เจ้าของธุรกิจสามารถเลือกฟังก์ชันที่หลากหลายและกำหนดรูปแบบการทำงานของระบบ WMS ให้ตอบโจทย์กับปัญหาธุรกิจและองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

ทุกธุรกิจที่เริ่มเติบโตหรือธุรกิจ SME ที่เพิ่งเริ่มต้นจำเป็นต้องสต๊อกสินค้าไว้ในคลัง และบันทึกรายละเอียดการซื้อขาย การจัดการคลังสินค้า จำนวนสินค้าคงคลัง การติดตามการกระจายสินค้าทั้งหมด ซึ่งมักมีปัญหาเรื่องข้อมูลที่ผิดพลาด ข้อมูลและจำนวนสินค้าไม่มีอัปเดตเรียลไทม์ และไม่สามารถติดตามพิกัด ค้นหาตำแหน่งสินค้าภายในคลัง และระหว่างการจัดส่งได้ 

ทาง YAS Logistic & Fulfillment Services ได้พัฒนาโปรแกรมระบบ WMS เพื่อช่วยจัดการคลังสินค้าอย่างเป็นระบบและตรวจสอบภาพรวมแบบเรียลไทม์ตลอดเวลา เจ้าของธุรกิจต้องอย่าพลาดกับบริการของทาง YAS ผู้ให้บริการคลังสินค้า การขนส่งและกระจายสินค้า บริการด้าน Fulfillment แบบครบวงจร เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในตลาดทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจ e-Commerce ที่มีการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว